วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 17 เมษายน 2561
เวลา 08:30 - 11:30



อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก




หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
      อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น
  การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก
 การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยจะเป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถาน คือ 
อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1.
อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว หมายถึง อาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก ข้อดีของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสียเวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่องมือเครื่องใช้ร้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากินโดยยังคงคุณค่า 

2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่ม ใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย หาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติมที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในตะวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็นซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจาอาหารเหล่านี้กินสะสมเป็นเวลานาน ๆ

3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย เช่น ของหวานระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือกถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดในถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก
ตัวอย่างรายการอาหารหลักที่เป็นอาหารหวาน

  • ฟักทองเชื่อม           
• ลอดช่องน้ำกะทิ
• เผือกน้ำกะทิ
• แตงไทยน้ำกะทิ
• วุ้นน้ำเชื่อม
• เฉาก๊วย
• ข้าวต้มน้ำวุ้น
• กล้วยบวชชี
• กล้วยเชื่อม
• ถั่วแดงเย็น
• ขนมปังเย็นใส่น้ำแดง
• มันเชื่อม
• มันสำปะหลังเชื่อม
• ขนมมันสำปะหลัง
• ขนมปลากริมไข่เต่า
อาหารว่าง / เสริม
   • ข้าวเกรียบปากหม้อ
• ตะโก้
• ถั่วกวน
• มันเทศกวน
• ข้าวต้มมัด
• ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ
• ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง
• เหนียวสังขยา
• ข้าวเหนียวปิ้ง
• นมถั่วเหลือง 
       • ขนมต้มแดง
• ขนมเล็บมือนาง
• ขนมเหนียว
• ขนมถ้วยฟู
• ขนมตาล
• ขนมกล้วย 

อาหารจานเดียว
      • ขนมผักกาดผัด
• ข้าวผัดเนื้อ / หมู / ไก่
• ข้าวผัดกุนเชียง หมูกรอบ
• ข้าวผัดหมู / ไก่ / เนื้อ
• ข้าวผัดกุ้ง
• ข้าวผัดอนามัย
• ข้าวคลุกกะปิ
• ข้าวราดหน้าไก่
• ข้าวราดแกงเนื้อ
• ข้าวราดแกงลูกชิ้นปลา
• ข้าวราดหน้าไก่ หน่อไม้
• ขนมจีนน้ำยา
• ขนมจีนแกงไก่ 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อนุทินครั้งที่ 11 วันอังคาร ที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 08:30 - 11:30 อาหารสำหรับเด็ก กลุ่มของฉันวันนี้ เมนูอาหารหลัก คือ   ข้าวผ...