อนุทินครั้งที่ 4 วันอังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา 08:30 - 11:30
ซิกมันด์ ฟรอยด์ เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมสัญชาตญาณ ในรูปของพลังงานที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรม พลังงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งผลักดันให้มีชีวิตอยู่ เรียกว่า สัญชาตญาณชีวิต อีกส่วนหนึ่งผลักดันให้ชีวิตดับเรียกว่า สัญชาตญาณแห่งความตาย
พลังงานเหล่านี้ประกอบกันเป็นอิด (Id) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตคนที่เราไม่รู้สึก เป็นจิตไร้สำนึก แรงผลักดันดังกล่าวนี้จึงมีอยู่โดยที่เราไม่รู้สึก เป็นแรงผลักดันไร้สำนึก อิดจะผลักดันให้จิตอีกส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นส่วนที่รู้ตัว เรียกว่า อีโก้ (Ego) ให้กระทำสิ่งต่าง ๆตามที่อิดประสงค์
ได้แก่ ระดับของจิตใจ โครงสร้างของจิตใจสัญชาตญาณ กลไกการป้องกันทางจิต และพัฒนาการของบุคลกิภาพ
1. ระดับของจิตใจ (Level of the Mind)
ระดับของจิตใจ ฟรอยด์อธิบายว่า หากจะพิจารณาจิตใจของมนุษย์ตามความรู้สึกตัวแล้ว จะแบ่งระดับความรู้สึกของ
จิตใจออกเป็ น 3 ระดับ คือ
1.1 จิตสำนึก (The conscious level) เป็ นส่วนของจิตใจที่เจ้าตัวรู้สึกและตระหนักในตนเองอยู่
พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา ความรู้ และการพิจารณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถูกต้องและ
สังคมยอมรับ
1.2 จิตกึ่งสำนึก (The subconscious level) เป็ นระดับของจิตใจที่อยู่ในชั้นลึกลงไปกว่าจิตสํานึก คือ
เจ้าตัวไม่ได้ตระหนักรู้ตลอดเวลา หากแต่ต้องใช้เวลาคิดหรือระลึกถึงชั่วครู่ และประสบการณ์ต่างๆจะถูกดึงมาสู่จิตสํานึก 2
จิตใจส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลที่ไม่จําเป็นออกจากความรู้สึกของบุคคลและเก็บไว้แต่ในส่วนที่มีความหมายต่อตนเอง
จิตใจส่วนนี้ดําเนินการอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจําวัน
1.3 จิตใต้สำนึก (Unconscious level) เป็ นระดับของจิตใจในชั้นลึกที่เจ้าตัวเก็บไว้ในส่วนลึก อัน
ประกอบด้วยความต้องการตามสัญชาตญาณต่างๆซึ่งไม่อาจแสดงได้อย่างเปิดเผยและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละ
ขั้นตอนของพัฒนาการในชีวิตที่มนุษย์เก็บสะสมไว้ โดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์จะเก็บ
ความรู้สึกทางลบไว้ในส่วนจิตใต้สํานึก และจะแสดงออกในบางโอกาส ซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้สึกตัว ฟรอยด์เชื่อ
ว่า การทําความเข้าใจมนุษย์ต้องทําตามความเข้าใจจิตใจส่วนนี้ด้วย
2. โครงสร้างจิตใจ (Structure of Mind)
โครงสร้างของจิตใจ ฟรอยด์อธิบายว่า จิตใจของมนุษย์ ประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่เป็นองค์ประกอบอยู่ 3
ส่วน คือ
2.1 อิด (Id) คือ สัญชาตญาณ หมายถึง ส่วนของจิตที่ยังไม่ได้ขัดเกลา เป็ นส่วนดั ้งเดิมของมนุษย์ที่ติดตัว
มาแต่กําเนิด และเป็นแรงขับของสัญชาตญาณพื ้นฐาน มุ่งให้ได้รับผลประโยชน์ต่อตนเองหรือความพึงพอใจและ
ความสุขของตนเองเป็นหลัก(Pleasure principle) กระบวนการทํางานของจิตส่วนนี้ไม่ได้นําเหตุผลและความเป็นจริง
อื่นๆมาเกี่ยวข้อง แต่เป็นการตอบสนองความต้องการตามสัญชาตญาณ ฟรอยด์เรียกกระบวนการทํางานของจิตส่วนนี้ว่า
เป็น กระบวนการคิดแบบปฐมภมูิ(Primary thinking process) ได้กลั่นกรองหรือขัดเกลาให้เหมาะสม
2.2 อีโก้(Ego) เรียกอีกอย่างว่า ตัวตนแห่งบุคคล หรือ Self เป็ นส่วนของจิตใจที่การดําเนินโดยอาศัย
เหตุและผล การเกิดของส่วนนี้จะทําให้Id ถูกผลักดันลงไปสู่จิตใจระดับจิตใต้สํานึกและเป็ นตัวประสานงานระหว่างความ
ต้องการตามสัญชาตญาณกับโลกภายนอกตามหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle) การทํางานของจิตส่วนนี้อยู่
ในระดับที่บุคคลรู้ตัว มีการพินิจพิจารณากลั่นกรอง เพื่อให้การตอบสนองตามความต้องการแรงขับของId อยู่ในขอบเขต
ของความเหมาะสมตามมาตรฐานของสังคม จึงเรียกกระบวนการคิดลักษณะนี้ว่า กระบวนการคิดแบบทุติยภมูิ
(Secondary thinking process)
2.3 ซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego) หรือ มโนธรรม เป็ นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกผิดชอบ
ชั่วดี ถูกผิดตามศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น