อนุทินครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 20 มีนาคม 2561
เวลา 08:30 - 11:30
หัวข้อวันนี้ แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท
ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit
environment) ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
2.
สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit
environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์
เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์
รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract)
ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก
คือเด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ
ในสังคม ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกัน
กระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคนั้น
จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
1.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2.
ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4.
ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
จัดเป็น 3
กลุ่ม ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
3.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
เป็นการจัดวัสดุ
อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร
และภายในห้องเรียน
2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
สอดคล้องและเสริมประสบการณ์ โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ
2.1
สนาม
2.2
สวนในโรงเรียน
สมองกับการเรียนรู้โดยใช้สื่อและการจัดสภาพแวดล้อม
การเลือกสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการและการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ
ในสมอง (Brain - Based Learning)
1. สื่อ
1.1 เพลง
1.2 เครื่องดนตรี
1.3 หนังสือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น