วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่ 11 วันอังคาร ที่ 24 เมษายน 2561
เวลา 08:30 - 11:30


อาหารสำหรับเด็ก

กลุ่มของฉันวันนี้

เมนูอาหารหลัก คือ  ข้าวผัดไข่ 
ส่วนของหวาน คือ  กล้วยบวชชี

  •  ข้าวผัดไข่


วัตถุดิบ มีดังนี้ 
  • ข้าวสุก  
  • ไข่  
  • ไส้กรอก 
  • หมูสับ 
  • แครอท 
  • ต้นหอม 
  • ข้าวโพด 
  • ผักกาดหอม 
  • ซีอิ้วขาว
  • กระเทียมสับ
  • น้ำมัน

วิธีทำ

1.ใส่กระเทียมลงในกระทะ เจียวจนมีกลิ่นหอม แล้วใส่หมูสับลงไปผัดให้สุก
2.ใส่แครอทลงไปผัดให้สุก ใส่ข้าวโพด ตามลงไปด้วยไส้กรอก
3. ขั้นต่อมา ตอกไข่ใส่ลงไป แล้วผัดให้ไข่สุก จากนั้นใส่ข้าวและต้นหอมลงไปผัดให้เข้ากัน พร้อมปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำตาลทราย 
4. สุดท้าย ตักข้าวผัดใส่จาน 
  • กล้วยบวชชี

 วัตถุดิบ มีดังนี้  

  • กล้วยน้ำว้าสุกห่าม 10 ลูก
  • หัวกะทิ 2 ถ้วย
  • หางกะทิ 4 ถ้วย
  • น้ำตาล 1 ถ้วย
  • เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำ
  1. ปอกเปลือกกล้วย ตัดกล้วยเป็น 6 ชิ้น เล็กพอดีคำสำหรับเด็ก
  2. นำหางกะทิใส่หม้อ ใส่น้ำตาล และเกลือป่น ตั้งไฟอ่อนๆ จนน้ำตาลละลาย ใส่กล้วยลงไปในหม้อ คนไปเรื่อยๆ ระวังอย่าให้กะทิไหม้ พอเดือดก็เติมหัวกะทิ และยกลงจากเตาทันที
  3. ใส่ถ้วยพร้อมเสริฟ


อนุทินครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 17 เมษายน 2561
เวลา 08:30 - 11:30



อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก




หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
      อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น
  การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก
 การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยจะเป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถาน คือ 
อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1.
อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว หมายถึง อาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก ข้อดีของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสียเวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่องมือเครื่องใช้ร้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากินโดยยังคงคุณค่า 

2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่ม ใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย หาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติมที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในตะวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็นซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจาอาหารเหล่านี้กินสะสมเป็นเวลานาน ๆ

3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย เช่น ของหวานระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือกถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดในถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก
ตัวอย่างรายการอาหารหลักที่เป็นอาหารหวาน

  • ฟักทองเชื่อม           
• ลอดช่องน้ำกะทิ
• เผือกน้ำกะทิ
• แตงไทยน้ำกะทิ
• วุ้นน้ำเชื่อม
• เฉาก๊วย
• ข้าวต้มน้ำวุ้น
• กล้วยบวชชี
• กล้วยเชื่อม
• ถั่วแดงเย็น
• ขนมปังเย็นใส่น้ำแดง
• มันเชื่อม
• มันสำปะหลังเชื่อม
• ขนมมันสำปะหลัง
• ขนมปลากริมไข่เต่า
อาหารว่าง / เสริม
   • ข้าวเกรียบปากหม้อ
• ตะโก้
• ถั่วกวน
• มันเทศกวน
• ข้าวต้มมัด
• ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ
• ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง
• เหนียวสังขยา
• ข้าวเหนียวปิ้ง
• นมถั่วเหลือง 
       • ขนมต้มแดง
• ขนมเล็บมือนาง
• ขนมเหนียว
• ขนมถ้วยฟู
• ขนมตาล
• ขนมกล้วย 

อาหารจานเดียว
      • ขนมผักกาดผัด
• ข้าวผัดเนื้อ / หมู / ไก่
• ข้าวผัดกุนเชียง หมูกรอบ
• ข้าวผัดหมู / ไก่ / เนื้อ
• ข้าวผัดกุ้ง
• ข้าวผัดอนามัย
• ข้าวคลุกกะปิ
• ข้าวราดหน้าไก่
• ข้าวราดแกงเนื้อ
• ข้าวราดแกงลูกชิ้นปลา
• ข้าวราดหน้าไก่ หน่อไม้
• ขนมจีนน้ำยา
• ขนมจีนแกงไก่ 








อนุทินครั้งที่ 9 วันอังคาร ที่ 27 มีนาคม 2561
เวลา 08:30 - 11:30 

นำเสนองานกลุ่ม

โรงเรียนพิบูลอุปถัมป์















วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561


อนุทินครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 20 มีนาคม 2561
เวลา 08:30 - 11:30 



หัวข้อวันนี้     แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้



สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

            1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment)  ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

            2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract) ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

           สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก คือเด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย

ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย  มีดังนี้
         1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
         2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
         3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
         4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก

อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย    
จัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้               

            1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
            2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
            3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา

การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย

            1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
   เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน
            2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
            ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์ โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ
            2.1 สนาม
            2.2 สวนในโรงเรียน

สมองกับการเรียนรู้โดยใช้สื่อและการจัดสภาพแวดล้อม

         การเลือกสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการและการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในสมอง  (Brain - Based Learning)
                1. สื่อ
                                1.1 เพลง
                                1.2 เครื่องดนตรี
                                1.3 หนังสือ







อนุทินครั้งที่ 7 วันอังคาร ที่ 13  มีนาคม  2561
เวลา 08:30 - 11:30 



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 
เนื่องจากสอบกลางภาค นอกตาราง
เห็นข้อสอบแล้ว ตาผึ่ง...ร้องอื้อหืออออออ >_<








อนุทินครั้งที่ 6 วันอังคาร ที่ 6 มีนาคม 2561
เวลา 08:30 - 11:30 



รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



ความหมายและความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก

           การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคม และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

เจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก 6 แบบ
  • 1.พ่อแม่ที่รักและคอยช่วยเหลือและเอาใจใส่ลูกมากเกินไป
  • 2.พ่อแม่เอาใจลูกเกินไป
  • 3.พ่อแม่ที่ทอดทิ้งเด็ก
  • 4.พ่อแม่ที่ยอมรับเด็ก
  • 5.พ่อแม่ที่ชอบบังคับลูก
  • 6.พ่อแม่ที่ยอมจำนนต่อลูก



วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก   อาจจัดได้ วิธี

     1. อบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
     2. อบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก
     3. อบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
     4. อบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป






อนุทินครั้งที่ 5 วันอังคาร ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา 08:30 - 11:30 





วันนี้นำเสนอบทความ
บทความเรื่อง การส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก






           ปัจจุบัน กระแสการพัฒนากระบวนการคิดในเด็กเล็กๆ กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีการกล่าวถึงพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และการพยายามหารูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ให้มากที่สุด


          ความรู้ด้านพันธุกรรมของมนุษย์พิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หรือเผ่าพันธุ์ใดมีความแตกต่างกับทางพันธุกรรมไม่ถึง 2 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่มนุษย์มีความแตกต่างกันเป็นผลจากการบ่มเพาะและสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนรู้ที่ให้มนุษย์ได้เกิดการบ่มเพาะจึงเป็นหนึ่งที่สอดคล้องกับพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

          การส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ถือเป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

          การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทั้งนี้เพราะประสาทสัมผัสเปรียบเสมือนกับเสาอากาศ หรือตัวรับรู้สิ่งต่างๆ ของมนุษย์ ถ้าเครื่องรับมีประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีคุณภาพตามไปด้วย แต่ถ้าเครื่องรับขาดประสิทธิภาพในการรับรู้สิ่งต่างๆ หรือมีประสิทธิภาพไม่สูง ก็จะส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กมีคุณภาพต่ำ และการให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพียงใดก็ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูจะต้องช่วยกันฝึกประสาทสัมผัส แก่เด็ก




   แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม 
http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research10.php
อนุทินครั้งที่ 4 วันอังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา 08:30 - 11:30 



โครงสร้างจิตใจของแต่ละทฤษฎี





ซิกมันด์ ฟรอยด์


 ซิกมันด์ ฟรอยด์ เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมสัญชาตญาณ ในรูปของพลังงานที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรม พลังงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งผลักดันให้มีชีวิตอยู่ เรียกว่า สัญชาตญาณชีวิต อีกส่วนหนึ่งผลักดันให้ชีวิตดับเรียกว่า สัญชาตญาณแห่งความตาย
พลังงานเหล่านี้ประกอบกันเป็นอิด (Id) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตคนที่เราไม่รู้สึก เป็นจิตไร้สำนึก แรงผลักดันดังกล่าวนี้จึงมีอยู่โดยที่เราไม่รู้สึก เป็นแรงผลักดันไร้สำนึก อิดจะผลักดันให้จิตอีกส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นส่วนที่รู้ตัว เรียกว่า อีโก้ (Ego) ให้กระทำสิ่งต่าง ๆตามที่อิดประสงค์

ได้แก่ ระดับของจิตใจ โครงสร้างของจิตใจสัญชาตญาณ กลไกการป้องกันทางจิต และพัฒนาการของบุคลกิภาพ

     1. ระดับของจิตใจ (Level of the Mind)
ระดับของจิตใจ ฟรอยด์อธิบายว่า หากจะพิจารณาจิตใจของมนุษย์ตามความรู้สึกตัวแล้ว จะแบ่งระดับความรู้สึกของ
จิตใจออกเป็ น 3 ระดับ คือ
     1.1 จิตสำนึก (The conscious level) เป็ นส่วนของจิตใจที่เจ้าตัวรู้สึกและตระหนักในตนเองอยู่
พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา ความรู้ และการพิจารณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถูกต้องและ
สังคมยอมรับ
     1.2 จิตกึ่งสำนึก (The subconscious level) เป็ นระดับของจิตใจที่อยู่ในชั้นลึกลงไปกว่าจิตสํานึก คือ
เจ้าตัวไม่ได้ตระหนักรู้ตลอดเวลา หากแต่ต้องใช้เวลาคิดหรือระลึกถึงชั่วครู่ และประสบการณ์ต่างๆจะถูกดึงมาสู่จิตสํานึก 2
จิตใจส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลที่ไม่จําเป็นออกจากความรู้สึกของบุคคลและเก็บไว้แต่ในส่วนที่มีความหมายต่อตนเอง
จิตใจส่วนนี้ดําเนินการอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจําวัน
    1.3 จิตใต้สำนึก (Unconscious level) เป็ นระดับของจิตใจในชั้นลึกที่เจ้าตัวเก็บไว้ในส่วนลึก อัน
ประกอบด้วยความต้องการตามสัญชาตญาณต่างๆซึ่งไม่อาจแสดงได้อย่างเปิดเผยและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละ
ขั้นตอนของพัฒนาการในชีวิตที่มนุษย์เก็บสะสมไว้ โดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์จะเก็บ
ความรู้สึกทางลบไว้ในส่วนจิตใต้สํานึก และจะแสดงออกในบางโอกาส ซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้สึกตัว ฟรอยด์เชื่อ
ว่า การทําความเข้าใจมนุษย์ต้องทําตามความเข้าใจจิตใจส่วนนี้ด้วย

    2. โครงสร้างจิตใจ (Structure of Mind)
 โครงสร้างของจิตใจ ฟรอยด์อธิบายว่า จิตใจของมนุษย์ ประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่เป็นองค์ประกอบอยู่ 3
ส่วน คือ

2.1 อิด (Id) คือ สัญชาตญาณ หมายถึง ส่วนของจิตที่ยังไม่ได้ขัดเกลา เป็ นส่วนดั ้งเดิมของมนุษย์ที่ติดตัว
มาแต่กําเนิด และเป็นแรงขับของสัญชาตญาณพื ้นฐาน มุ่งให้ได้รับผลประโยชน์ต่อตนเองหรือความพึงพอใจและ
ความสุขของตนเองเป็นหลัก(Pleasure principle) กระบวนการทํางานของจิตส่วนนี้ไม่ได้นําเหตุผลและความเป็นจริง
อื่นๆมาเกี่ยวข้อง แต่เป็นการตอบสนองความต้องการตามสัญชาตญาณ ฟรอยด์เรียกกระบวนการทํางานของจิตส่วนนี้ว่า
เป็น กระบวนการคิดแบบปฐมภมูิ(Primary thinking process) ได้กลั่นกรองหรือขัดเกลาให้เหมาะสม
   2.2 อีโก้(Ego) เรียกอีกอย่างว่า ตัวตนแห่งบุคคล หรือ Self เป็ นส่วนของจิตใจที่การดําเนินโดยอาศัย
เหตุและผล การเกิดของส่วนนี้จะทําให้Id ถูกผลักดันลงไปสู่จิตใจระดับจิตใต้สํานึกและเป็ นตัวประสานงานระหว่างความ
ต้องการตามสัญชาตญาณกับโลกภายนอกตามหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle) การทํางานของจิตส่วนนี้อยู่
ในระดับที่บุคคลรู้ตัว มีการพินิจพิจารณากลั่นกรอง เพื่อให้การตอบสนองตามความต้องการแรงขับของId อยู่ในขอบเขต
ของความเหมาะสมตามมาตรฐานของสังคม จึงเรียกกระบวนการคิดลักษณะนี้ว่า กระบวนการคิดแบบทุติยภมูิ
(Secondary thinking process)
     2.3 ซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego) หรือ มโนธรรม เป็ นส่วนของจิตใจที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกผิดชอบ
ชั่วดี ถูกผิดตามศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561


อนุทินครั้งที่ 3 วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา 08:30 - 11:30 


ความต้องการของเด็กปฐมวัยทางด้านต่างๆและการตอบสนองความต้องการของเด็กว่าพ่อแม่และคุณครูควรทำอย่างไร


ความต้องการของเด็กปฐมวัย

ให้ศึกษาหาข้อมูลดังต่อไปนี้

    1.ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย
    2.ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร
    3.พ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร
    4.หากไม่มีการตอบสนองความต้องการจะมีผลลัพย์อย่างไร

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มและช่วยกันศึกษาหาข้อมูลและรวบรวมจัดทำแผนผังการเรียนรู้ให้แต่ละกลุ่มทำแผนผังความรู้เพื่อออกมานำเสนอตามหัวข้อที่ที่กลุ่มของตนได้รับ


กลุ่มของฉันในวันนี้นำเสนอ





      สรุปสิ่งที่่นำเสนอ

พัฒนาทางด้านร่างกาย
  • ใช้กรรไกรมือเดียวได้
  • ยืดตัวคล่องแคล่ว
  • เดินลงบันไดสลับเท้าได้
  • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้

พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
  • ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
  • กลัวการพลัดพลากจากผู้เลี้ยงดู
  • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
  • แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
พัฒนาการด้านสังคม
  • รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
  • แบ่งของให้คนอื่น
  • รู้จักการรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา

  • มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
  • สามารถสนทนา โต้ตอบ เล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจเป็นประโยคอย่างต่อเนื่องได้








อนุทินครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 30 มกราคม 2561
เวลา 08:30 - 11:30






ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

บรุนเนอร์(Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญา
ต่อเนื่อจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้
เกิดการกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง


การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา


  • การสร้างแรงจูงใจภายใน ให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้ก้ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี





ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 23 มกราคม 2561






อนุทินครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 23 มกราคม 2561
เวลา 08:30 - 11:30 



วันนี้อาจารย์สอน  บทที่ 2 ทฤษฏีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
โดยได้อธิบายไปหัวข้อ  ดังนี้                   
                                                   ❤   ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
                                                      ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
                                                   ❤   ทฤษฎีพัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์
                                                   ❤   ทฤษฎีพัฒนาการด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก
                                                   ❤   ทฤษฎีพัฒนาการด้านความรู้คิดของเพียเจท์
                                                      ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

และได้อธิบายเกี่ยวกับ "โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ" ว่า
☺อิด(Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใดฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
☺อีโก้(Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
☺ซุปเปอร์อีโก้(Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม

หลังจากจบการอธิบายอาจารย์ก็ได้ให้ดู คลิปที่สื่อสะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กจากพ่อแม่และครูที่โรงเรียน
ตอน  ลูกน่ารักที่สุดเลย





หลังจากดูเสร็จอาจารย์ก็ถามและอธิบายเกี่ยวกับตัวละครในทุกๆตัวให้นักศึกษาฟังและให้นักศึกษากล่าวถึงตัวละครว่าแต่ละตัวละครเป็นคนแบบไหน มีข้อดี และ ข้อเสียอย่างไร  เป็นต้น

ความรู้ที่ได้รับ  : ได้รู้เกี่ยวกับหลักทฤษฏีของนักจิตวิทยาในหลายๆด้านและรู้ถึงโครงสร้างของบุคลิกภาพและขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ






อนุทินครั้งที่ 11 วันอังคาร ที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 08:30 - 11:30 อาหารสำหรับเด็ก กลุ่มของฉันวันนี้ เมนูอาหารหลัก คือ   ข้าวผ...